วันเสาร์ที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2557

บันทึกอนุทินครั้งที่ 16

วิชาการจัดประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
(Science Experiences Management for Early Childhood)
อาจารย์จินตนา สุขสำราญ

สัปดาห์นี้ได้มีการเสนอการสรุปวีดีโอโทรทัศน์ครู และวิจัยต่างๆอีกเช่นเคย ข้าพเจ้าได้นำเสนอ วีดีโอ เรื่องเจ้างูเต้นระบำ จากบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย เนื่องจาก ข้าพเจ้าไม่สามารถเปิดดูรายการโทรทัศน์ครูได้ และหลังจากนั้น อาจารย์ก็ให้นักศึกษาจับกลุ่มตามแผนที่เคยทำ ร่วมกันทำงานกลุ่ม เกี่ยวกับการประสานสัมพันธ์ ออกแบบแผ่นพับ ประชาสัมพันธ์ ขอความร่วมมือให้ผู้ปกครอง เตรียมอุปกรณ์ ให้กับบุตรหลานของตนเพื่อนำมาทำกิจกรรม เป็นการให้ทางบ้านมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมของ โรงเรียน


การนำไปใช้
สามารถนำแผ่นพับนี้ไปใช้ได้จริงในการขอความอนุเคราะห์ในการให้ความร่วมมมือในการทำกิจกรรม  นอกจากจะได้ประชาสัมพันธ์ถึงเนื้อหาที่เราสอนแล้ว ยังเป็นการลดค่าใช้จ่ายในการจัดหาอุปกรณ์อีก

ประเมิน
ตนเอง เนื่องจากสัปดาห์นี้เป็นสัปดาห์สุดท้าย  และใช้เวลานานมาก ในการทำกิจกรรมและเสนองาน ททำให้ข้าพเจ้ารู้สึกปวดหัว เหนื่อยล้า ผิดปกติ
เพื่อน เพื่อนๆในห้องตั้งใจเสนองานของตนและตั้งใจทำงานกลุ่ม เป็นอย่างดี และมีบางกลุ่มที่คุยกันเสียงดัง บางครั้ง
อาจารย์ สัปดาห์นี้สอนเลยเวลา แต่ให้งานที่เป็นประโยชน์แก่นักศึกษา 

วันศุกร์ที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2557

บันทึกอนุทินครั้งที่ 14

วิชาการจัดประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
(Science Experiences Management for Early Childhood)
อาจารย์จินตนา สุขสำราญ

ความรู้ที่ได้รับ
 สัปดาห์นี้มีการนำเสนอ แผนการสอน ที่เหลืออีก 3 กลุ่ม คือ

  1. กลุ่มนกหงส์หยกสอนการเปรียบเทียบสายพันธ์
  2. สับปะรด สอนเรื่องประโยชน์และข้อควรระวัง
  3. ส้ม สอนเรื่องประโยชน์จากการแปรรูป


ต่อมาเป็นกิจกรมม ไข่ทาโกยากิอาจารย์ให้นักศึกษาร่วมกันทำ
ส่วนผสม
1.ไข่ไก่ =Egg

2.ข้าวสวย=Rice
3.แครอท=carrot 
4.ต้นหอม =leek
5.ปูอัด= a crab compresses
6.ซอสปรุงรส
7.เนย =butter

วิธีทำ
1.ตีไข่ใส่ชาม
2.นำส่วนผสมต่างๆใส่ลงไปในไข่ในอัตราส่วนที่พอดี
3.นำเนยใส่ในหลุมกระทะ
4.คนส่วนผสมให้เข้ากันจากนั้นนำไปเทลงในหลุมกระทะที่เตรียมไว้





การนำไปใช้
เราสามารถนำความรู้ที่ได้ในวันนี้ ไปใช้ในอนาคตได้ เพราะว่าการเขียนแผนเป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างมาในการทำงานในวิชาชีพครู ในการเขียนแผนนั้นต้องเป็นประโยชน์และใช้ได้จริงกับเด็กปฐมวัย  และการทำเทอริยากิไข่ก็สามารถนำไปใช้สอนเด็กปฐมวัยในอนาคตได้ 

การประเมิน
ตนเอง มีส่วนร่วมในการนำเสนองาน และการทำกิจกรรมทุกขั้นตอน สนุกสนานในการทำกิจกรรม
เพื่อน เพื่อนๆตั้งใจนำเสนอแผนการสอนได้ดีค่ะ และมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมที่เพื่อนสอนแผนการสอน
อาจารย์ หากิจกรรมให้นักศึกษาได้ทำร่วมกัน เพื่อความผ่อนคลายและสามารถนำกิจกรรมไปใช้ได้จริงในอนาคต

บันทึกอนุทินครั้งที่ 13

วิชาการจัดประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
(Science Experiences Management for Early Childhood)
อาจารย์จินตนา สุขสำราญ

ความรู้ที่ได้รับ 
 สัปดาห์นี้อาจารย์ให้นำเสนอแผนการสอน ของแต่ละกลุ่ม มีหน่วยต่างๆดังนี้

  1. หน่วยผลไม้ 
  2. หน่วยนกหงส์หยก
  3. หน่วยแตงโม
  4. หน่วยกล้วย
  5. หน่วยช้าง
  6. หน่วยข้าวโพด
  7. หน่วยผีเสื้อ
  8. หน่วยสัปปะรด
  9. หน่วยส้ม
สัปดาห์นี้ ได้นำเสนอแค่ 6 กลุ่ม  อีก 3 กลุ่มที่ได้นำเสนอสัปดาห์ถัดไป กลุ่มที่นำเสนอในสัปดาห็หน้าคือ  หน่วยนกหงส์หยก หน่วยสัปปะรด และหน่วยส้ม

การนำไปใช้
สามารถนำความรู้ในการเขียนแผนของทุกกลุ่มไปปรับใช้ในอนาคตได้ เพราะเราต้องใช้ตลอดในการทำงาน 

สรุปวีดีโอ บ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย

วิชาการจัดประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
(Science Experiences Management for Early Childhood)
อาจารย์จินตนา สุขสำราญ

เรื่อง เจ้างูเต้นระบำ
 การเข้าสูการทดลอง

  1. ถามประสบการณ์ของเด็กถึงการเต้นว่าเคยเต้นไหม ชอบเต้นหรือไม่
  2. ให้เด็กๆเต้นให้ดู ถ้าใครไม่ชอบเต้น ก็ให้ตบมือ
  3. เชิญชวนเข้าสู่กิจกรรม ถามเกี่ยวกับงู ว่าเคยเห็นงูเต้นระบำไหม วันนี้ครูจะมาสอนทำงูเต้นระบำ
อุปกรณ์
  1. กระดาษทิชชู
  2. ลูกโป่ง
  3. อาหารเช้า พวกซีเรี่ยล
  4. สี 
  5. กรรไกร
  6. กระดาษ
วิธีทำการทดลอง
  1. ให้เด็กๆวาดรูปงู ตามจินตนาการลงบนกระดาษทิชชู
  2. ตัดกระดาษทิชชูตามรูปที่วาด
  3. เป่าลูกโป่ง แล้วนำมาถูกับกระดาษแล้วนำมาดูดทิชชู ให้เด็กๆสังกตความเปลี่ยนแปลง
  4. นำลูกโป่ง ถูกับเส้นผม แล้วนำมาดูด แต่เปลี่ยนจากงูทิชชู เป็น ซีเรียล แล้วนำมาเปรียบเทียบ นอกจากนี้ครูสามารถนำไปดูดกับของที่มีนำหนัก มากขึ้น เช่น แปรงลบกระดาน เพื่อให้เด็กเห็นความแตกต่างอย่างชัดเจน
ผลการทดลอง 
เมื่อนำลูกโป่งไปถูกับกระดาษ หรือเส้นผม จะทำให้ลูกโป่งสามารถดูดทิชชู และซีเรี่ยลได้ สาเหตุมาจาก ปรากฏการณ์ที่เรียกว่าไฟฟ้าสถิต เมื่อนำลูกโป่งมาถูกับกระดาษมาถูกับเส้นผม จะมีการแลกประจุกัน คือ ประจุบวก และประจุลบ ทำให้เกิดแรงดึงดูด สามารถดูดสิ่งของที่มีน้ำหนักเบาๆได้

การนำไปใช้
สามารถนำไปใช้ในอนาคตคือสามารถนำไปทำเป็นกิจกรรมในห้องเรียนของเราในอนาคตหรือไปเล่นกับลูกหลานที่อยู่ในวัยนี้เป็นการสร้างความรู้และสนุกสนานให้กับเด็ก


บันทึกอนุทินครั้งที่ 12

วิชาการจัดประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
(Science Experiences Management for Early Childhood)
อาจารย์จินตนา สุขสำราญ

ความรู้ที่ได้รับ


การนำไปใช้
สามารถไปใช้ได้จริงในอนาคตเพราะการเขียนแผนเป็นสิ่งสำคัญมาก  และเราต้องใช้ตลอดในการเป็นครูเพื่อวางแผนงานของเราให้เป็นระบบ 

ประเมิน
ตนเอง ตั้งใจฟังและจดตามที่อาจารย์บอก เพื่อนำไปเขียนแผนได้
เพื่อน ตั้งใจฟัง และจด แต่จะมีบางคนเข้าใจยาก ต้องคอยยกมือถาม และ บอกอย่างละเอียดแต่เพื่อนๆตั้งใจฟังกันมาก
อาจารย์ อธิบายละเอียดมาก ไปเป็นขั้นตอน เพื่อให้นักศึกษาเข้าใจ ตอบคำถามอย่างเป็นระบบ และให้นักศึกษาได้คิดตาม

วันอังคารที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2557

บันทึกอนุทินครั้งที่ 11

วิชาการจัดประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
(Science Experiences Management for Early Childhood)
อาจารย์จินตนา สุขสำราญ

ความรู้ที่ได้รับ 



ต่อมาได้ทำกิจกรรม การทดลอง เกี่ยวกับดอกไม้ กระดาษ
ขั้นตอนการทำ
  1. วาดรูปดอกไม้หรืออะไรก็ได้  1 รูป
  2. ระบายสีเมจิก ลงให้ทั่ว ตกแต่งให้สวยงาม
  3. พับกลีบหรือขอบดอกไม้ เบา
  4. นำไปแช่ในน้ำ 
  5. กลีบดอกไม้ จะค่อยๆบานและจมลงไป



การประเมิน
ตนเอง  ตั้งใจเรียน และมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมทุกอย่าง มีการทดลองที่น่าสนใจ ตื่นเต้นกับกิจกรรมของอาจารย์
เพื่อน  ตั้งใจฟัง และร่วมกิจกรรมทุกคน ทุกคนดูตื่นเต้น และมีการคุยกันถึงกิจกรรม มากขึ้น
อาจารย์ หาสิ่งแปลกใหม่ กิจกรรมแปลกตา ให้นักศึกษาทำ คาบนี้เลยไม่น่าเบื่อ 


วันอาทิตย์ที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2557

บันทึกอนุทินครั้งที่ 10

วิชาการจัดประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
(Science Experience Management for Early Childhood)
อาจารย์จินตนา สุขสำราญ

สัปดาห์นี้อาจารย์ให้นำของเล่นที่เสนอค้างไว้ตั้งแต่สัปดาห์ที่แล้วมานำเสนอให้หมด โดยมีการนำเสนอของเล่นที่หลากหลายตามหลักการทางวิทยาศาสตร์ เช่น ของข้าพเจ้า เครื่องร่อนวงแหวน ใช้หลักการทางวิทยาศาสตร์คือ แรงเหวี่ยง และแรงต้านลม การที่จะทำให้เครืองร่อนไปได้ไกลนั้นต้องอาศัยแรงเหวี่ยงที่มาก และมีแรงต้านลมที่พอเหมาะ เพื่อให้เกิดความสมดุล เมื่อเกิดความสมดุลแล้ว เครื่องร่อนจะร่อนอยู่ในอากาศได้นาน

กิจกรรมในวันนี้ 
สิงประดิษฐ์จากแกนทิชชู
อุปกรณ์
  1. แกนทิชชู
  2. กระดาษสี
  3. ปากกาเมจิ
  4. กรรไกร
  5. ที่เจาะรูกระดาษ
  6. ไหมพรม
  7. กาว
วิธีทำ
  1. ตัดแกนทิชชูออกเป็น 2 ท่อน
  2. เจาะรูทั้ง 2 ฝั่งที่ตรงข้ามกัน
  3. ใช้ไหมพรมคล้องเข้าไปและมัดปม
  4. วาดรูปใส่กระดาษ
  5. ตัดรูปที่วาด มาแปะหน้าแกนทิชชู่

วิธีเล่น 
  1. ใช้ไหมพรมคล้องคอ 
  2. จับไหมพรมทั้ง 2 มือ แล้วขยับมือ ซ้ายขวา
  3. แกนทิชชู่จะค่อยเลื่อนขึ้นข้างบน

บันทึกอนุทินครั้งที่ 9

วิชาการจัดประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
(Science Experience Management for Early Childhood)

อาจารย์จินตนา สุขสำราญ

ความรู้ที่ได้รับ

ในสัปดาห์นี้อาจารย์ให้นำเสนอของเล่นวิทยาศาสตร์ ที่เคยสั่งไว้ โดยให้นำมาอธิบาย ถึงวิธีการทำ อุปกรณ์ และประโยชน์ที่ได้รับจากของเล่นนี้ ข้าพเจ้าทำจรวดวงแหวน 

ชื่อของเล่น เครื่องร่อนวงงแหวน
อุปกรณ์  

  1. กาว 
  2. กรรไกร 
  3. กระดาษปกรายงาน
  4.  หลอดกาแฟ
  5. สก๊อตเทปใส
วิธีการทำ 
  1. นำหลอดกาแฟ มาติดกันโดยใช้สก๊อตเทปใส
  2. ตัดกระดาษปกรายงาน ให้มีทั้งสั้นและยาว 2 ชิ้น
  3. นำกระดาษทั้งสองแผ่นที่ตัดแล้ว มาทำเป็นวงกลมจะได้ 2 วง คือวงเล็กและใหญ่
  4. นำหลอดกาแฟมาติดกับกระดาษทั้งสองวงหัวท้าย
ดังรูป


วิธีเล่น 
ใช้ร่อนและพลิกแพลงหาวิธีต่างๆให้ร่อนได้นาน ความพิเศษ ของเครื่องร่อนวงแหวนคือ ใช้อุปกรณ์ที่หาง่ายไม่แพง และร่อนได้นานกว่าเครื่องร่อนลักษณะปกติ

สัปดาห์นี้ยังเสนอไม่ครบทุกคนพราะฉะนั้นอาจารย์จึงให้นำมาให้พร้อมทุกคนในสัปดาห์หน้า

การประเมิน
ตนเอง ตั้งใจและเตรียมพร้อมที่จะนำเสนอ นำเสนอได้ดี อธิบายได้ดี และตั้งใจฟังของเพื่อน
เพื่อน บางคนก็ยังไม่เตรียมมา แต่ในขณะที่เพื่อนคนอื่นนำเสนอก็มีทั้งใจฟังและไม่ตั้งใจฟัง 
อาจารย์ อธิบายให้ฟังชัดเจนว่าของเล่นนี้ควรอยู่ในมุม หรือเป็นของเล่นที่เหมาะกับการนำไปประดิษฐ์ เพื่อให้เข้าใจที่ตรงกันของนักศึกษา

บันทึกอนุทินครั้งที่ 8

วิชาการจัดประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
(Science Experience Management for Early Childhood)

อาจารย์จินตนา สุขสำราญ


สัปดาห์นี้ไม่มีการเรียนการสอน เนื่องจากเป็นสัปดาห์สอบกลางภาคของมหาวิทยาลัย


บันทึกอนุทินครั้งที่7

วิชาการจัดประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
(Science Experience Management for Early Childhood)

อาจารย์จินตนา สุขสำราญ

สัปดาห์นี้ไม่มีการเรียนการสอน เนื่องจาก อาจารย์เข้าร่วมกิจกรรมสัมนานักศึกษาวิชาชีพครู
โดยมี คุณ ปอ ทฤษฏี สหวงศ์ เป็นวิทยากร

บันทึกอนุทินครั้งที่ 6


บันทึกอนุทิน

วิชาการจัดประสบการทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
(Science Experience Management for Early childhood)
อาจารย์จินตนา สุขสำราญ


ความรู้ที่ได้รับ




การนำไปประยุกต์ใช้

นำกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ไปใช้ได้กับทุกๆเรื่องในอนาคตและชีวิตประจำวันเพราะเราต้องมีการวางแผนในการทำงานทุกอย่างเพื่อความสำเร็จและมีประสิทธิภาพของงาน กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ก็เป็นอีกวิธีที่สามารถช่วยในการวางแผนงาน และจัดระบบงานของเราได้ดี

การประเมิน

ตนเอง ตั้งใจเรียนในสิ่งที่ครูสอนและเข้าใจดี ไม่พูดคุยกับเพื่อนข้างๆ แต่ต้องพยายามคิดให้ทันเพราะอาจารย์ถามคำถามอยู่ตลอด
เพื่อน ตั้งใจฟังอาจารย์และมีการโต้ตอบคำถาม อยู่บ่อยๆ แต่ค่อนข้างคุยเยอะจนเสียงดัง
อาจารย์ สอนดี ละเอียดมาก และมีคำถามกระตุ้นนักศึกษาตลอดเวลา 

วันจันทร์ที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2557

สรุปความลับของแสง


สรุปความลับของแสง

ความหมายของแสง (อังกฤษ: light) คือ คลื่นชนิดหนึ่งและมีพลังงานการแผ่รังสีแม่เหล็กไฟฟ้าในช่วงความยาวคลื่นที่สายตามนุษย์มองเห็น หรือบางครั้งอาจรวมถึงการแผ่รังสีแม่เหล็กไฟฟ้าในช่วงความยาวคลื่นตั้งแต่รังสีอินฟราเรดถึงรังสีอัลตราไวโอเลตด้วย

คุณสมบัติของแสง  จะมีทั้งของคลื่นและของอนุภาคในเวลาเดียวกัน ทั้งนี้เนื่องจากทวิภาวะของคลื่นและอนุภาค ธรรมชาติที่แท้จริงของแสงเป็นปัญหาหลักปัญหาหนึ่งของฟิสิกส์สมัยใหม่
แสงจะมีคุณสมบัติที่สำคัญ 4 ข้อ ได้แก่ การเดินทางเป็นเส้นตรง (Rectilinear propagation) , การหักเห (Refraction) , การสะท้อน (Reflection) และการกระจาย (Dispersion)การเดินทางแสงเป็นเส้นตรง  แสงสว่าง นับเป็นพลังงานรูปแบบหนึ่งที่มีความสำคัญต่อการดำรงชีวิตปัจจุบัน นอกจากการใช้ประโยชน์ของแสงสว่างในการมองเห็น อันเป็นกลไกของระบบประสาทสัมผัสหนึ่งที่ทำให้มนุษย์รับรู้และประมวลผล โดยเป็นการสื่อสารทางภาพยังสามารถนำมาใช้ในรูปแบบอื่นๆ เช่น การนำพลังงานแสงอาทิตย์มาใช้ในการขับเคลื่อน หรือทำให้เครื่องจักร อุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าต่างๆ ทำงาน เป็นต้น จึงนับว่าแสงสว่างเป็นปัจจัยที่มีความสำคัญที่ทำให้เกิดกิจกรรมการดำเนินการ การปฏิบัติงานต่างๆ เป็นได้ด้วยดี

บันทึกอนุทินครั้งที่ 5

บันทึกอนุทินครั้งที่ 5

วิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
( Science Experiences Management for Early Childhood )
อาจารย์ผู้สอน อ. จินตนา สุขสำราญ
วัน/เดือน/ปี 09/09/57
เรียนครั้งที่ 4 เวลาเรียน 14:10 - 17:30
กลุ่ม 102 วันอังคาร ห้อง 434



บันทึกอนุทินครั้งที่ 4


บันทึกอนุทินครั้งที่ 4


วิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

( Science Experiences Management for Early Childhood )

อาจารย์ผู้สอน อ. จินตนา สุขสำราญ

วัน/เดือน/ปี 09/09/57

เรียนครั้งที่ 4 เวลาเรียน 14:10 - 17:30

กลุ่ม 102 วันอังคาร ห้อง 434




วันจันทร์ที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2557

บันทึกอนุทินครั้งที่ 3

บันทึกอนุทินครั้งที่ 3
วิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
( Science Experiences Management for Early Childhood )
รหัสวิชา EAED3207 จำนวนหน่วยกิต 3(2-2-5)
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ จินตนา สุขสำราญ
วัน/เดือน/ปี 02/09/57 ภาคเรียนที่ 1/2557

กลุ่ม102 เรียนวันอังคาร 14:10 - 17:30 

สัปดาห์นี้ไม่มีการเรียนการสอน เนื่องจากได้เข้าร่วมกิจกรรมของคณะ "โครงการ ศึกษาศาสตร์วิชาการ" "Thinking Faculty" ณ อาคารพลศึกษา(สนามกีฬาในร่ม)


บันทึกอนุทินครั้งที่ 2

บันทึกอนุทินครั้งที่ 2
วิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
( Science Experiences Management for Early Childhood )
รหัสวิชา EAED3207 จำนวนหน่วยกิต 3(2-2-5)
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ จินตนา สุขสำราญ
วัน/เดือน/ปี 26/08/57 ภาคเรียนที่ 1/2557

กลุ่ม102 เรียนวันอังคาร 14:10 - 17:30 


บันทึกอนุทินครั้งที่ 1

วิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
( Science Experiences Management for Early Childhood )
รหัสวิชา EAED3207 จำนวนหน่วยกิต 3(2-2-5)
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ จินตนา สุขสำราญ
วัน/เดือน/ปี 19/08/57 ภาคเรียนที่ 1/2557
กลุ่ม102 เรียนวันอังคาร 14:10 - 17:30 

 สัปดาห์นี้เป็นการเปิดภาคเรียนวันแรกของรายวิชา ไม่มีการเรียนการสอน อาจารย์แจกแนวการสอน (Coures Syllabus) และได้อธิบายเกี่ยวกับรายวิชา สิ่งที่จะสอนให้นักศึกษาได้เรียนรู้ และพูดเรื่องของการเก็บคะแนนของรายวิชานี้ พูดเรื่องวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

ว่ามีความสำคัญสำหรับเด็กปฐมวัยอย่างไร นั้นเอง